บทความน่ารู้


อัล-อิญาเราะฮฺ (การเช่าหรือการจ้าง)

 

การเช่า-การจ้าง คือข้อตกลงในผลประโยชน์ที่ศาสนาอนุมัติ มีความแน่นอน มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ด้วยค่าตอบแทนที่แน่นอน

หุกมของการเช่า-จ้าง

การเช่า-จ้าง เป็นข้อตกลงผูกมัดระหว่างสองฝ่าย มีผลด้วยทุกคำพูดที่บ่งชี่ถึงการเช่า-จ้าง เช่น ฉันจ้างท่าน ฉันให้เช่าแก่ท่าน และอื่นๆ ที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ

          

เคล็ดลับการบัญญัติการเช่า-จ้าง

การเช่า-จ้างเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ เพราะมนุษย์จำเป็นต่อผู้ชำนาญด้านงานฝีมือเพื่อทำงาน บ้านเพื่ออยู่อาศัย สัตว์ รถ เครื่องมือต่าง และอื่นๆ เพื่อการบรรทุก ขับขี่ และใช้ประโยชน์  ดังนั้นอัลลอฮฺจึงอนุญาตให้มีการเช่า-จ้างเพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ และได้ดำเนินการในความต้องการของพวกเขา โดยใช้เงินเพียงเล็กน้อยพร้อมกับการได้ประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย (มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ ที่ได้บัญญัติสิ่งเหล่านี้)

 

ประเภทของการเช่า-จ้าง

การเช่า-การจ้างมี ประเภท

  1. การเช่าวัตถุที่แน่นอน เช่นฉันให้ท่านเช่าบ้านหลังนี้ หรือรถคันนี้ ด้วยค่าเช่าจำนวนเท่านี้
  2. การจ้างให้ทำงานที่แน่นอน เช่นจ้างคนๆ หนึ่งให้ก่อผนัง หรือไถดิน เป็นต้น

 

เงื่อนไขของการเช่า-จ้าง

การเช่า-จ้างที่ถูกต้องต้องประกอบด้วยเงื่อนไขต่างๆดังนี้

  1. การเช่า-จ้างเกิดจากบุคคลที่สามารถดำเนินการ
  2. ทราบประโยชน์ของการเช่า-จ้าง เช่น การพักอาศัยในบ้าน , หรือการบริการของบุคคล (การทำงาน)
  3. ทราบค่าเช่า-จ้าง
  4. ประโยชน์จากการเช่า-จ้างเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาต เช่น บ้านเพื่อพักอาศัย ดังนั้นจะถือว่าไม่ถูกต้อง (เป็นโมฆะ) ในประโยชน์ของสิ่งที่ต้องห้าม เช่น ให้เช่าบ้านหรือร้านเพื่อขายเหล้า หรือคูหาเพื่อเป็นสถานที่ค้าประเวณี  และเช่าบ้านเพื่อใช้เป็นโบสถ์ หรือเพื่อขายสิ่งต้องห้ามต่างๆ
  5. มีความชัดเจนในวัตถุที่จะให้เช่า ด้วยการเห็นด้วยตา หรือทราบคุณลักษณะ  และจะต้องทำความตกลงกันบนผลประโยชน์ของวัตถุ ไม่ใช่ส่วนต่างๆ ของวัตถุ  ต้องสามารถส่งมอบได้  ต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่ศาสนาอนุญาต ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าหรือเป็นผู้ได้รับอนุญาตในสิ่งนั้น

 

หุกมการให้เช่าต่อในสิ่งที่เช่า

อนุญาตให้ผู้เช่าใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เช่าด้วยตัวเอง และผู้เช่ามีสิทธิที่จะให้เช่าต่อแก่บุคคลอื่นที่จะใช้ประโยชน์แทนตน ด้วยอัตราค่าเช่าเท่าเดิม หรือน้อยกว่า แต่ไม่ใช่มากกว่าเดิมที่เกิดผลเสียต่อเขา

 

สภาพของการจ่ายค่าเช่า-จ้างตามปกติวิสัย

หากเขาขึ้นโดยสารเครื่องบิน รถ เรือ หรือมอบเสื้อให้ช่างเย็บ หรือจ้างให้แบกหาม โดยไม่ได้ทำข้อตกลงก่อน ทั้งหมดถือว่าใช้ได้ด้วยการจ่ายค่าจ้างตามราคาปรกติทั่วไป เช่นนี้แหละสำหรับทุกๆ สิ่งที่คุ้นเคย เป็นที่ทราบกันของคนทั่วไป และเกิดขึ้นซ้ำๆ

 

หุกมการเช่าสิ่งที่เป็นวะกัฟ (สาธารณะประโยชน์ตามหลักศาสนา)

อนุญาตให้มีการเช่าสิ่งที่เป็นวะกัฟ และหากผู้ให้เช่าเสียชีวิตแล้วสิทธิการให้เช่าดังกล่าวจะตกเป็นของบุคคลที่ดำเนินการต่อจากนั้น โดยไม่ถูกยกเลิกแต่อย่างใด และบุคคลที่สองก็จะได้ส่วนค่าเช่าของเขา

 

ทุกๆ สิ่งที่ห้ามการซื้อขายก็ห้ามทำการเช่า-จ้างเช่นกัน ยกเว้น สิ่งวะกัฟ บุคคลที่เป็นไท และทาสหญิงที่มีลูกกับนาย

 

วาญิบต้องจ่ายค่าเช่า-จ้างเมื่อใด

วาญิบต้องจ่ายค่าเช่า-จ้างด้วยการทำข้อตกลง และวาญิบต้องจ่ายเมื่อครบเวลา และหากทั้งสองฝ่ายพอใจที่ขยายเวลาจ่ายให้ช้าลง หรือร่นเวลาให้เร็วขึ้น หรือจ่ายด้วยการผ่อนชำระ ก็ถือว่าใช้ได้ และลูกจ้างมีสิทธิรับค่าจ้างเมื่องานเสร็จสมบูรณ์อย่างดี โดยให้จ่ายเงินค่าจ้างก่อนที่เหงื่อลูกจ้างจะแห้ง

จากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«قَالَ الله تَعَالَى: ثَلاثَةٌ أَنَا خَصْمُهُـمْ يَوْمَ القِيَامَةِ: رَجُلٌ أَعْطَى بِي ثُمَّ غَدَرَ، وَرَجُلٌ بَاعَ حُرّاً فَأَكَلَ ثَمَنَـهُ، وَرَجُلٌ اسْتَأْجَرَ أَجِيراً فَاسْتَوْفَى مِنْـهُ وَلَـمْ يُـعْطِهِ أَجْرَهُ». أخرجه البخاري.

 ความว่า “อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า  (บุคคลสามจำพวกที่ฉันจะเป็นคู่กรณีกับพวกเขาในวันกิยามะฮฺ (คือ) คนที่ได้สัญญากับฉันแล้วเขาผิดสัญญา คนที่ขายมนุษย์ที่เป็นไท(ไม่ใช่ทาส) แล้วกินเงินนั้น และคนที่จ้างคนงานแล้วได้ทำงานตามสัญญา แต่เขาไม่ยอมจ่ายค่าแรงของเขา” (บันทึก โดยอัล-บุคอรีย์ 2270)

 

หุก่มการขายสิ่งที่ให้เช่า

อนุญาตให้ขายสิ่งที่ให้เช่า เช่นบ้าน รถ เป็นต้น โดยผู้ซื้อจะรับสินค้าหลังจากที่ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เช่านั้นอย่างสมบูรณ์ และสิ้นสุดระยะเวลาของการเช่าแล้ว

 

หุก่มของการชดใช้ในสิ่งที่ถูกเช่า

ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องชดใช้สิ่งที่เสียหายด้วยมือของเขา หากเขาไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือละเมิดทำลาย และไม่อนุญาตให้สตรีรับจ้างทำงานด้วยตัวเอง หรือรับจ้างให้นมเด็ก นอกจากจะได้รับอนุญาตจากสามีก่อน

อนุญาตให้รับค่าจ้างจากการสอน สร้างมัสยิด และอื่นๆ

 

หุก่มการรับค่าจ้างจากการทำอะมัลหรืออิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ

อนุญาตให้อิหม่ามหรือมุอัซซิน (ผู้ประกาศละหมาด) หรือครูสอนอัลกุรอานรับค่าจ้างจากบัยตุลมาล (เงินกองคลัง) และผู้ใดในหมู่พวกเขาที่ทำงานโดยเจตนาเพื่ออัลลอฮฺผู้สูงส่งเขาก็จะได้รับผลบุญ ถึงแม้ว่าเขาจะรับค่าจ้างจากบัยตุลมาลก็ตาม เพราะถือสิ่งที่เขารับมาจากบัยตุลมาลนั้น เป็นการช่วยสนับสนุนด้านการทำความดีไม่ใช่เป็นสิ่งแลกเปลี่ยนหรือค่าจ้างในการทำงานของเขา

 

หุก่มการทำงานเป็นลูกจ้างคนกาฟิรของมุสลิม

อนุญาตให้มุสลิมทำงานเป็นลูกจ้างของคนกาฟิรด้วยเงื่อนไขสามประการคือ

  1. ต้องเป็นงานที่อนุญาตให้มุสลิมทำ
  2. ต้องไม่เป็นการช่วยเหลือเขาในสิ่งที่นำอันตรายกลับคืนสู่ชาวมุสลิม
  3. ต้องไม่เป็นงานที่ทำเกิดความสมเพชแก่ชาวมุสลิม

 

อนุญาตให้มุสลิมจ้างคนกาฟิรเมื่อจำเป็น เช่น ไม่มีมุสลิมที่จะรับจ้าง

 

หุกมการจ้าง-ให้เช่า แก่คนที่ทำสิ่งต้องห้าม

 ไม่อนุญาตให้เช่าบ้าน หรือร้านค้าแก่ผู้ที่ขายสิ่งต้องห้าม  เช่น  เครื่องดนตรีที่ต้องห้าม หนังลามก  รูปภาพที่เป็นฟิตนะฮฺ (เช่นภาพเปลือย) เช่นเดียวกับไม่อนุญาตให้เช่า-จ้างผู้ที่ทำงานที่ต้องห้าม เช่น ทำงานธนาคารที่มีดอกเบี้ย และผู้ที่จะใช้บ้านเป็นที่ผลิตเหล้า  ใช้บ้านเป็นที่พักแก่นักดนตรี และผู้กระทำการผิดประเวณี และอื่น เช่นเป็นที่ขายบุหรี ที่โกนเครา ที่ขายม้วนวีดีโอและเพลง เพราะในการเช่า-จ้างดังกล่าวเป็นการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่ต้องห้ามที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามไว้

            อัลลอฮฺได้ ตรัสว่า

(  ﯭ ﯮ ﯯ ﯰ ﯱ ﯲ ﯳ ﯴ ﯵ ﯶ ﯷ ﯸ ﯹ ﯺ ﯻ ﯼ ﯽ ﯾ ﯿ) [المائدة/2].

ความว่า  “และพวกเจ้าจงช่วยกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรม และความยำเกรง และจงอย่าช่วยในสิ่งที่เป็นบาปและเป็นศัตรูกันและพึงยำเกรงต่ออัลลอฮฺเถิดแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงเป็นผู้รุนแรงในการลงโทษ”  (อัลมาอิดะฮฺ 2)

 

หุก่มการจ่ายค่าชดเชยเพื่อแลกกับการขอยกเลิกให้เช่า

บางครั้งที่พักหรือห้างร้านอยู่ในทำเลที่ดีและเป็นที่ต้องการ ในกรณีเช่นนี้อนุญาตให้จ่ายค่ายกเลิกเช่าแก่ผู้เช่าในช่วงที่ยังอยู่ในระยะเวลาเช่าแลกกับการสละระยะเวลาที่เหลือของการเช่า แม้จะมีราคาสูงกว่าค่าเช่าปรกติก็ตาม แต่ต้องไม่ใช่เป็นการจ่ายหลังจากหมดเวลาเช่าแล้ว

 

หุก่มการกำหนดเงื่อนไขการลงโทษหรือปรับ

          การวางเงื่อนไขเสียค่าปรับที่มีการปฏิบัติกันอย่างแผร่หลายในการทำข้อตกลงสัญญาต่างๆ ถือว่าเป็นเงื่อนไขที่ใช้ได้และถูกต้องจำเป็นที่ต้องยึดมั่นตามนั้น ถือเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาตเพื่อทำให้ข้อตกลงนั้นเสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดเวลา และมีส่วนช่วยปิดกั้นการขาดวินัย และการไม่จริงจังกับสิทธิของผู้อื่นตราบใดที่มันไม่ได้มีมูลเหตุที่ศาสนาจะอนุโลมผ่อนผันให้ ซึ่งสิ่งอนุโลมนั้นก็จะลดการวาญิบ(ที่จะต้องตามเงื่อนนั้น)ลง แม้ว่าเงื่อนไขจะมีมากตามธรรมเนียมปฏิบัติก็ตาม ก็ถือว่าจำเป็นต้องพิจารณาด้านความยุติธรรม ความมีสำนึก ตามระดับของประโยชน์ที่เสียไป หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นตามดุลยพินิจของผู้พิพากษาหรือศาล

ตัวอย่างเช่น คนๆ หนึ่งได้ตกลงว่าจ้างอีกคนหนึ่งสร้างบ้านให้แก่ตนในระยะเวลาหนึ่งปีด้วยค่าจ้างหนึ่งแสนเหรียญ เมื่อเขาได้ทำงานล่าช้าเกินหนึ่งปี (ตามสัญญา) ดังนั้น ผู้รับจ้างก่อสร้างต้องเสียค่าปรับต่อเดือนเดือนละ 1000 เหรียญ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าเกิดการล่าช้าเป็นเวลาสี่เดือนโดยไม่มีเหตุจำเป็น ผู้รับจ้างก่อสร้างจะต้องจ่าย 4000 เหรียญแก่เจ้าของบ้านหรือผู้ว่าจ้าง (ตามเงื่อนไขในสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้)


ย้อนกลับ